www.treepoowan.com=> อื่น ๆ -> พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม


พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 56 คน

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม


รายละเอียด

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม

ประเภท : อื่น ๆ


พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัด ป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ ขณะที่ท่านอายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง
 
ครั้นอายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม อ.พรรณานิคม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓ ได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พร้อมกับปวารณาขอเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุกตินิกาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘ ที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

 พระอาจารย์ฝั้น เป็นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดเวลาที่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างไม่มีความด่างพร้อยใดๆ คำสอนของท่านเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสของทุกคนที่มีโอกาสได้กราบไหว้ โดยเฉพาะแนวทางการปฏิบัติธรรมที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ ณ วัดป่าอุดมสมพร สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี พรรษา ๕๘

ใน จำนวนเหรียญทั้ง ๑๒๐ รุ่น ที่โดดเด่นต้องยกให้การจัดสร้างโดยคณะศิษย์ทหารอากาศ สร้างถวายระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๗ -๒๕๑๑ มีทั้งหมด ๗ รุ่น และเป็นที่เสาะแสวงหามากสุดๆ คือ เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น ๑ สร้าง พ.ศ.๒๕๐๗ เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างโดย น.อ.เกษม งามเอก สร้างถวายเนื่องในงานยกเสาโบสถ์น้ำ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ไว้แจกจ่ายเป็นที่ระลึกในงานดังกล่าว
 
ลักษณะ เป็นเหรียญวงรีรูปไข่ มีหูห่วง เหรียญรุ่นนี้มีเนื้ออัลปาก้า จำนวนสร้าง ๒๑๙ เหรียญ ซึ่งปรากฏตัวเลขนี้อยู่ที่ขอบล่างของหลังเหรียญ เนื้อทองแดง (ลองพิมพ์) ประมาณ ๑๐ เหรียญ นอกจากนี้ยังมีเหรียญเนื้อทองคำ ๓ เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระอาจารย์ฝั้นครึ่งองค์ หันหน้าไปทางขวา

ด้านล่างสลักตัวหนังสือนูนคำว่า "พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร"

ด้าน หลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูห่วงใกล้ขอบเหรียญด้านบน สลักตัวหนังสือนูนคำว่า "วัดป่าถ้ำขาม สกลนคร" ตรงกลางเหรียญถัดลงมามีสัญลักษณ์คล้ายหยดน้ำ

กึ่งกลางเหรียญมีอักขระ ๒ บรรทัด ซึ่งเป็นพระคาถา "หัวใจพญานกยูงทอง" ถัดลงมีตัวอักษรเลขไทยระบุ "๒๕๐๗" ปีที่จัดสร้างเหรียญ บรรทัดล่างสุดสลักคำว่า "รุ่นแรกศิษย์ ทอ.สร้างถวาย"

ทุกวันนี้เหรียญเนื้ออัลปาก้าเช่าหาที่หลักล้านต้นๆ ในขณะที่เหรียญทองแดงอยู่ราคาเกือบ ๑๐ ล้านบาท ส่วนเนื้อทองคำไม่เคยปรากฏให้เห็นแม้กระทั่งภาพถ่าย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ จนถึงทุกวันนี้




  เมื่อวันที่ : 2017-03-18 17:31:57


สอบถามโทร :
092-259-1286
092-259-1848

ID Line : treepoowan2023